logo
กรมธนารักษ์
สำนักงานธนารักษ์พื้นที่เชียงราย
THE TREASURY
DEPARTMENT
MENU
  • A
  • A
  • A

เกี่ยวกับจังหวัด

 

 


ประวัติเมืองเชียงราย

พงศาวดารโยนกว่า พญามังรายสร้างขึ้น ณ ที่ซึ่งเดิมเป็นเวียงชัยนารายณ์เมื่อ พ.ศ. 1805 และครองราชสมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงรายจนถึง พ.ศ. 1839 จึงไปสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นในท้องที่ระหว่างดอยสุเทพกับแม่น้ำปิงและครองราชสมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงใหม่จนถึง พ.ศ. 1860
สำหรับเมืองเชียงรายนั้น เมื่อพญามังรายย้ายไปครองราชสมบัติที่เมืองเชียงใหม่แล้ว พระราชโอรสคือ ขุนคราม หรืออีกชื่อหนึ่งว่าพญาไชยสงคราม ก็ได้ครองราชสมบัติสืบต่อมา นับแต่นั้นเมืองเชียงรายก็ขึ้นต่อเมืองเชียงใหม่
ครั้นต่อมาเมื่อล้านนาตกไปอยู่ในปกครองของพม่า ในปี พ.ศ. 2101 พม่าได้ตั้งขุนนางปกครองเมืองเชียงรายเรื่อยมา หลังจากนั้น พ.ศ. 2317 เจ้ากาวิละแห่งลำปางได้สวามิภักดิ์ต่อกรุงเทพฯ ทำให้หัวเมืองล้านนาฝ่ายใต้ตกเป็นประเทศราชของสยาม ขณะที่เชียงรายและหัวเมืองล้านนาฝ่านเหนืออื่น ๆ ยังคงอยู่ใต้อำนาจพม่า ล้านนากลายเป็นพื้นที่แย่งชิงอำนาจระหว่างสยามกับพม่า ในช่วงเวลาดังกล่าวเมืองเชียงรายเริ่มร้างผู้คน ประชาชนอพยพหนีภัยสงครามไปอยู่เมืองอื่น บ้างก็ถูกกวาดต้อนลงไปทางใต้ พ.ศ. 2247 เมืองเชียงแสนฐานที่มั่นสุดท้ายของพม่า ถูกกองทัพเชียงใหม่ ลำปาง และน่าน ตีแตก เมืองเชียงรายจึงกลายสภาพเป็นเมืองร้างตามเมืองเชียงแสน
ในปี พ.ศ. 2386 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้เจ้าหลวงเชียงใหม่ฟื้นฟูเชียงรายขึ้นใหม่ ภายหลังเมืองเชียงรายได้เป็นส่วนหนึ่งของมณฑลพฤศจิกายนพ กระทั่งปี พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชบัญญัติยกเชียงรายขึ้นเป็น เมืองเชียงราย ซึ่ง "เมือง" เป็นหน่วยการปกครองหนึ่งที่อยู่ถัดจาก "มณฑล" ลงมา โดยเมืองเชียงรายเป็นศูนย์กลางควบคุมเชียงแสน ฝาง และพะเยา ภายหลังเมืองเชียงรายได้เปลี่ยนเป็นจังหวัดเชียงราย และเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2520 ได้แบ่งแยกพื้นที่บางส่วนทางตอนใต้ของจังหวัดจัดตั้งขึ้นเป็นจังหวัดพะเยา จนถึงปัจจุบัน
ยุทธศาสตร์จังหวัดเชียงราย
 
วิสัยทัศน์ของจังหวัด (Vision)
 
เชียงราย ประตูทองของวัฒนธรรมล้านนา และการค้าสู่สากล"
 
 
เป้าประสงค์ของจังหวัด (Goals)
                     
 
                      1. รายได้จากการส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านในอนุภาคกลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนเพิ่มขึ้น
                      2. เกษตรปลอดภัยและมีรายได้ของสินค้าเกษตรจากการแปรรูป/สร้างรายได้จากการส่งออกของท้องถิ่นเพิ่มขึ้น
                      3. รายได้จากการท่องเที่ยวในจังหวัดเพิ่มขึ้น
                      4. พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ให้มีเกียรติศักดิ์ศรี ความรู้ สุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตที่
                      ดีขึ้น ชุมชนยั่งยืน
                      5. ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และขยายโอกาสของประชาชนและชุมชน
                      6. อนุรักษ์ ส่งเสริมและพัฒนาวัฒนธรรมประเพณีล้านนาให้เป็นที่ยอมรับในความเป็นแผ่นดินถิ่นไทยงาม
                      ของประชาชนในจังหวัด และชื่นชมจากนักท่องเที่ยวต่างถิ่น
                      7. สร้างความมั่นคงปลอดภัยในพื้นที่ปกติ/พื้นที่ชายแดนให้มีความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประ
                      ชาชน และนักท่องเที่ยว
 
 
 
ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด (Strategic Issues)
 
                      1. ยุทธศาสตร์ประตูการค้าสู่อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน
                      2. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการเกษตรปลอดภัยเพื่อเพิ่มมูลค่า
                      3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย
                      4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมและทรัพยากรมนุษย์
                      5. ยุทธศาสตร์การสร้างเศรษฐกิจพื้นบ้าน สืบสานสู่สากล
                      6. ยุทธศาสตร์เชียงรายแผ่นดินถิ่นไทยงาม
                      7. ยุทธศาสตร์ความมั่นคงและปลอดภัยในพื้นที่ปกติและชายแดน
 
 
ยุทธศาสตร์ / กลยุทธ์ของจังหวัด (Strategies)
 
                      1. การส่งเสริมการค้า การลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน
                      2. การพัฒนาบุคลากรเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและเป็นศูนย์กลาง
                      ด้านการศึกษาของ
GMS
                      3. การพัฒนาโครงสร้างสร้างพื้นฐานรองรับเขตเศรษฐกิจชายแดน การค้า การท่องเที่ยวทางน้ำ
                      และทางบกในพื้นที่จังหวัดเชียงราย
                      4. การพัฒนาจังหวัดเชียงราย เป็นศูนย์กลางขนส่งสินค้าทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ(Logistics)
                      เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อรองรับเขตเศรษฐกิจชายแดน และการลงทุนเพื่อผลิตสินค้าส่งออก
                      5. การพัฒนามาตรฐานและบรรจุภัณฑ์สินค้าOTOP
                      6. ส่งเสริมเกษตรปลอดภัย
                      7. การส่งเสริมผลิตผลหลักทางการเกษตร ปลูกพืชเศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูงเพื่อส่งออก
                      และการพัฒนาการนำเข้า
                      8. การส่งเสริมการผลิต การตลาด และมาตรฐานความปลอดภัยของสินค้าเกษตร
                      9. การส่งเสริมการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร
                      10. การจัดตั้งศูนย์บริการการท่องเที่ยว
                      11. พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเดิมและสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ให้หลากหลายรูปแบบ
                      12. ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์เชื่อมโยงในจังหวัด/กลุ่มจังหวัด
                      13.ส่งเสริมการท่องเที่ยวตลอดปี
                      14. การเป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวประเทศเพื่อนบ้านในอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน
                      15.การส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการพัฒนา
                      16.ส่งเสริมสถาบันการศึกษา เพื่อพัฒนาศักยภาพจังหวัดเชียงราย
                      17.การส่งเสริมการศึกษาในระบบสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ คุณธรรม จริยธรรม และปฏิบัติได้ในชุมชน
                      18.การเป็นศูนย์กลางการศึกษาที่มีคุณภาพได้มาตรฐานสากล
                      19.แผนงานส่งเสริมประชาชนดำรงชีวิตอย่างสันติสุข ใช้ชีวิตสมัยใหม่ให้สอดคล้องกับประเพณี
                      วัฒนธรรม ค่านิยมที่ดีอย่างยั่งยืน
                      20. การจัดระเบียบสังคมของเด็กและเยาวชน
                      21.การสร้างสุขภาพ จิตที่ดี
                      22.การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสาธารณสุขของกลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนบ
                      23.การส่งเสริมและสนับสนุนองค์กรเครือข่ายพัฒนาสังคมทั้งภาครัฐและเอกชน
                      24.การบริการสวัสดิการสังคม และช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อน
                      25. การส่งเสริมอาชีพ สร้างเครือข่ายและขยายไปสู่วิสาหกิจชุมชน
                      26.การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการแปรรูปผลิตภัณฑ์OTOP ให้ได้มาตรฐานสู่สากล
                      27. การตั้งศูนย์บรรจุภัณฑ์OTOP
                      28.การอนุรักษ์ฟื้นฟู และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมล้านนาอย่างเป็นระบบและยั่งยืนเป็นเลิศ
                      ในระดับนานาชาติ
                      29
.การพัฒนาบุคลากร และสำนึกด้านศิลปวัฒนธรรมล้านนา
                      30
.การอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
                      31
.การพัฒนาพื้นที่ทางด้านกายภาพเมือง และชนบท
                      32
.การส่งเสริมความมั่นคงและปลอดภัยในการดำรงชีวิตพื้นที่ปกติและพั้นที่ตามแนวชายแดน
                      33
.การสร้างความเข้มแข็งชุมชนในพื้นที่เมือง ชนบทและการเอาชนะยาเสพติดและผู้มีอิทธิพล
 
 
 

ตราประจำจังหวัดเชียงราย

ตราประจำจังหวัด ชร
รูปช้างสีขาวใต้เมฆ

เมื่อพญามังรายได้ทรงรวบรวมหัวเมืองฝ่ายเหนือในอาณาเขตรอบ ๆ ได้แล้วจึงทรงกรีฑาทัพไปแสดงฝีมือในการยุทธต่อหัวเมืองฝ่ายใต้ลงมา จึงได้ไปรวมพล ณ. เมืองลาวกู่เต้า และหมอควาญได้นำช้างมงคลของพญามังรายไปทอด (ผูก) ไว้ในป่าหัวดอยทิศตะวันออก พลัดหายไป พญามังรายจึงได้เสด็จติดตามรอยช้างไปจนถึงดอยทองริมแม่น้ำกกนัทธีได้ทัศนาการเห็น ภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม อุดมสมบูรณ์เป็นชัยภูมิที่ดี จึงได้สร้างเมืองใหม่ขึ้นในที่นั่น ให้ก่อปราการโอบเอาดอยจอมทองไว้ในท่ามกลางเมือง ขนานนามเมืองว่า "เวียงเชียงราย" ตามพระนามของพญามังรายผู้สร้าง เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 1805 ดังนั้น จึงได้นำรูปช้างสีขาวใต้เมฆแห่งความรุ่งเรือง และอยู่เย็นเป็นสุข บนพื้นสีม่วงของวันเสาร์ ซึ่งตรงกับวันประสูติของพญาเม็งราย เป็นสีประจำจังหวัด

 

คำขวัญของจังหวัดเชียงราย

"เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน

ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง"

 

ธงประจำจังหวัดเชียงราย

 

ดอกไม้ประจำจังหวัด

ชื่อดอกไม้ดอกพวงแสด
ชื่อ วิทยาศาสตร์ :Pyrostegia Venusta (ker) Miers
วงศ์ : Bignonia Ceae
ลักษณะชนิดพันธุ์ไม้ :ไม้เลื้อยต่างประเทศ
ชื่ออื่น ๆ : Orange trumpet, Flane Flower, Fire - Cracder Vine

ต้นไม้ประจำจังหวัด


ชื่อพันธุ์ไม้ กาสะลองคำ
ชื่อวิทยาศาสตร์Radermachera ignea (Kurz) Steenis
วงค์ Dignoniaceae
ชื่ออื่น ๆ ปีปทอง, แคเป๊าะ, สำเนาหลามต้น, สะเภา, อ้อยช้าง, จางจืด

ประวัติความเป็นมาของต้นไม้ประจำจังหวัดเชียงราย

ต้นกาสะลองคำ เป็นต้นไม้ที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพิธีเปิดโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ ปีที่ 50 วันที่ 9 พฤษภาคม 2537 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ความเป็นมาของตุงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ ซึ่งนับว่าเป็นวาระอันมงคลยิ่ง พสกนิกรชาวเชียงรายทุกหมู่เหล่าและเผ่าพันธุ์ได้รวมใจกันเฉลิมพระเกียรติและแสดงความจงรักภักดีสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันหาที่สุดมิได้ ต่อพสกนิกรชาวเชียงรายและชาวไทย จึงพร้อมใจกันจัดสร้างตุงทองคำเพื่อน้อมเกล้าน้อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จำนวน ๒ ตุง และตุงหลวงจำนวน ๑ ตุง เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาส จังหวัดเชียงรายสถาปนาได้ ๗๓๗ ปี ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมโครงการเฉลิมพระเกียรติของกระทรวงมหาดไทย ภายใต้การนำของนายวิจารณ์ ไชยนันทน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายในสมัยนั้น ได้รับความร่วมมือร่วมใจ จากประชาชนชาวเชียงรายทุกหมู่เหล่า เผ่าพันธุ์ เป็นอย่างดียิ่ง ซึ่งตุงผืนที่ ๑ ออกแบบโดย นายถวัลย์ ดัชนี ผืนที่ ๒ ออกแบบโดย นายเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ตุงหลวง ออกแบบโดย นายกนก วิศวกุล ผู้ออกแบบได้ศึกษาและผสานความคิดสอดคล้องกันกับชาวเชียงรายผนวกกับความจงรักภักดี จังมีความหมายและเกิดรูปแบบดังต่อไปนี้
ตุงผืนที่ ๑
ออกแบบโดย นายถวัลย์ ดัชนี
รูปแบบตุง มีลักษณะเป็น จลนะภาพ คือการแสดงออกถึงพลังแห่งการเคลื่อนไหว อิสระเบ่งบานในการรังสรรค์ที่มิได้ยึดรูปแบบดั้งเดิม หากแต่ยังไว้ซึ่งศักยภาพในด้านเนื้อหา ปรัชญาศรัทธา และสัญลักษณ์อันเปี่ยมด้วยความหมายของกษัตริย์แห่งจักรีวงศ์ โดยใช้รูปแบบของนารายณ์ทรงครุฑ อันเป็นพระราชลัญจกรของรามาวตาร พระวิษณุอวตารลงมาเป็นพระราม รูปพระนารายณ์สี่กรทรงตรี คธา จักร และสังข์ ประทับยืนบนครุฑ ช้างเอราวัณสามเศียร หมายถึง สวรรค์ชั้นดุสิต ที่สถิตของพระอินทร์ และพระธาตุเกษแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ อยู่บนฐานปัทม์ ดอกบัวเสี้ยงเดือนรูปปิ่นพระศิวะ และกระต่ายแทนปีพระราชสมภพ และเป็นสัญลักษณ์ของ ศศิธรประภามณฑลของพระอิศวร ตามปกิรนัมตรีมูรติ จิตรกรแทนหกรอบพระชันษา โดยใช้ชื่อสัตว์หิมพานต์ทั้งหก อันมีช้างเอราวัณ ครุฑ นาค นรสิงห์ คชสีห์ และกระต่าย นับได้ว่าเป็นงานรังสฤษฎ์ที่สมบูรณ์ด้วยรูปแบบ เปี่ยมด้วยความหมาย ทรงพลังและเข้มขลังด้วยศรัทธาความรัก
ตุงผืนที่ ๒
ออกแบบโดย อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์
เป็นตุงแห่งความจงรักภักดีของชาวเชียงรายและปวงประชาไทย น้อมเกล้าถวายบูชาองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ แสดงออกด้วยรูปแบบที่บ่งบอกถึงจากแผ่นดิน - สู่แผ่นฟ้า ดิน หมายถึง รูปทรงล่างสุดของตุง ที่มีสัญลักษณ์รูปช่างอันเป็นตราประจำจังหวัดเชียงรายโอบอุ้มขึ้นไปสู่รูปทรงที่ปรากฏเป็นภาพประชาชนชาวเชียงรายถวายเครื่องสูง เพื่อน้อมถวายสักการะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในบรรยากาศของขุนเขาดอยนางนอน และองค์พระธาตุดอยตุง เหนือจากดอยตุงเป็นภาพพญาครุฑ อันเป็นพาหนะของพระนารายณ์ ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ขององค์พระมหากษัตริย์ หลังของพญาครุฑเป็นรัศมีที่โอบอุ้มมี ๑๐ องค์ หมายถึง การปกครองด้วยทศพิธราชธรรม เหนือพญาครุฑเป็นภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ มีเปลวกนกที่หมายถึงพระเมตตา รองรับพญานาค ซึ่งหมายถึงพระบารมีที่ปกป้องไพร่ฟ้าประชาชน ดอกบัว และแสดงถึงทรงเป็นนักปฎิบัติธรรมแตกฉานในพระธรรมอย่างลึกซึ้ง บนสุดเป็นตราสัญลักษณ์ 6 รอบ ล้อมด้วยเปลวกนกที่โพยพุ่งไปสู่ความสว่าง คือ พระนิพพาน
ตุงผืนที่ ๓
ออกแบบโดย นายกนก วิศวะกุล
ภาพโดยรวมของตุงหลวงเฉลิมพระเกียรติฯ แสดงออกถึงพลังแห่งความสงบนิ่งและมั่นคงพลังแห่งความจงรักภักดี พลังแห่งความเคารพศรัทธายิ่ง ของเหล่าพสกนิกรชาวไทย ที่น้อมเกล้าฯ ถวายแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องจากตุงหลวงเฉลิมพระเกียรติฯ นี้ จะได้จัดสร้างไว้ที่จังหวัดเชียงรายในโอกาสข้างหน้า เพื่อร่วมฉลองเมืองเชียงรายที่สถาปนามาได้ ๗๓๗ ปี ดังนั้น รูปแบบด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม จึงต้องคำนึงถึงหลักภูมิทัศน์ที่มีความสอดคล้องกลมกลืนอย่างสงบ มั่นคงและสง่างาม

การปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 18 อำเภอ 124 ตำบล 1,751 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองเชียงราย
  2. อำเภอเวียงชัย
  3. อำเภอเชียงของ
  4. อำเภอเทิง
  5. อำเภอพาน
  6. อำเภอป่าแดด
  7. อำเภอแม่จัน
  8. อำเภอเชียงแสน
  9. อำเภอแม่สาย
  1. อำเภอแม่สรวย
  2. อำเภอเวียงป่าเป้า
  3. อำเภอพญาเม็งราย
  4. อำเภอเวียงแก่น
  5. อำเภอขุนตาล
  6. อำเภอแม่ฟ้าหลวง
  7. อำเภอแม่ลาว
  8. อำเภอเวียงเชียงรุ้ง
  9. อำเภอดอยหลวง

ภูมิศาสตร์
ที่ตั้ง
จังหวัดเชียงราย ตั้งอยู่ภาคเหนือของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพฯ 785 ก.ม. มีเนื้อที่ประมาณ 11,678.369 ตร.ก.ม. หรือประมาณ 7,298,981 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ
ประเทศสหภาพพม่า และประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศใต้
ติดต่อกับ
จังหวัดลำปาง และจังหวัดพะเยา
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ
ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และจังหวัดพะเยา
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ
ประเทศสหภาพพม่า และจังหวัดเชียงใหม่
 
18 อำเภอ
 
ชื่อ
ระยะทางจากอ.เมือง
 
ชื่อ
ระยะทางจากอ.เมือง

 

อ.เมืองเชียงราย

-

 

อ.แม่สาย

63 กม.

 

อ.เชียงของ

145 กม.

 

อ.แม่สรวย

62 กม.

 

อ.เวียงป่าเป้า

91 กม.

 

อ.พญาเม็งราย

48 กม.

 

อ.เทิง

64 กม.

 

อ.เวียงแก่น

150 กม.

 

อ.ป่าแดด

52 กม.

 

อ.ขุนตาล

63 กม.

 

อ.พาน

47 กม.

 

อ.แม่ฟ้าหลวง

65 กม.

 

อ.เวียงชัย

12 กม.

 

อ.แม่ลาว

19 กม.

 

อ.แม่จัน

28 กม.

 

อ.เวียงเชียงรุ้ง

45 กม.

 

อ.เชียงแสน

60 กม.

 

อ.ดอยหลวง

40 กม.

ภูมิประเทศ

จังหวัดเชียงรายมีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงในทวีปตอนเหนือ (North Continental Highland) มีพื้นที่ราบสูงเป็นหย่อม ๆ ในเขตอำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงป่าเป้า และอำเภอเชียงของ บริเวณเทือกเขาจะมีความสูงประมาณ 1,500-2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล บริเวณส่วนที่ราบตามลุ่มแม่น้ำสำคัญในตอนกลางของพื้นที่ ได้แก่ อำเภอพาน อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอแม่จัน อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ มีความสูงประมาณ 410-580 เมตร จากระดับน้ำทะเล
ตั้งอยู่เหนือสุดของประเทศไทย อาณาเขตของจังหวัดทางทิศเหนือติดกับแคว้นเมืองสาด และ แคว้นท่าขี้เหล็ก ของ รัฐฉาน ประเทศพม่า และ แขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว ทิศตะวันออกติดกับแขวงอุดมไซ ประเทศลาว ทิศใต้ติดกับ อำเภอแม่ใจ อำเภอภูกามยาว อำเภอดอกคำใต้ อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ และ อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา อำเภอเมืองปาน และ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ทิศตะวันตกติดกับ อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอพร้าว อำเภอไชยปราการ อำเภอฝาง และ อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ และแคว้นเมืองสาด ของ รัฐฉาน ประเทศพม่า มีชายแดนติดกับประเทศพม่ายาว ประมาณ 130 กิโลเมตร และมีชายแดนติดต่อกับลาวประมาณ 180 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 11,680 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7,290,000 ไร่
ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง มีป่าไม้ปกคลุม บริเวณเทือกเขามีชั้นความสูง 1,500-2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีที่ราบเป็นหย่อม ๆ ในระหว่างหุบเขา และตามลุ่มน้ำสำคัญ จังหวัดเชียงรายมีภูเขาล้อมรอบโดยเฉพาะทางทิศตะวันตกเป็นแนวเทือกเขาผีปันน้ำ ติดต่อกันไปเป็นพืดตลอดเขตจังหวัด

ภูมิอากาศ

จังหวัดเชียงรายมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 24 องศาเซลเซียส ฤดูร้อน เริ่มจากกลางเดือนกุมภาพันธ์-กลางเดือนพฤษภาคม มีอุณหภูมิประมาณ 37 องศาเซลเซียส ฤดูฝน เริ่มจากกลางเดือนพฤษภาคม-กลางเดือนตุลาคม มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 1,768 มิลลิเมตร มากที่สุดในปี 2544 จำนวน 2,287.60 มิลลิเมตรน้อยที่สุดในปี 2546 จำนวน 1,404.10 มิลลิเมตร จำนวนวันที่มีฝนตกเฉลี่ย 143 วันต่อปี ฤดูหนาว (พฤศจิกันยายน กุมภาพันธ์) จังหวัดเชียงรายมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 15.0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 8.0 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2544 สภาพอากาศของจังหวัดเชียงราย ถือว่าหนาวจัดในพื้นที่ราบ อุณหภูมิต่ำสุดจะอยู่ที่ 8-9 องศาเซลเซียส ส่วนบนยอดดอย อุณหภูมิต่ำสุดจะอยู่ที่ 0-5 องศาเซลเซียส จึงทำให้อากาศที่เชียงรายในช่วงฤดูหนาว เป็นพื้นที่ๆ นักท่องเที่ยวอยากมาเป็นอย่างยิ่ง
ประชากร
ประชากรในเขตจังหวัดเชียงราย แบ่งออกได้เป็น กลุ่ม คือ

คนไทยพื้นราบ

ประกอบด้วยคนเมือง คนไทย ไทลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่ ดังนี้
  • คนเมือง เป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุดในอดีตเรียกว่า ไทยยวน ผู้ชายจะมีรูปร่างโปร่งบางกว่าคนไทยภาคกลางเล็กน้อย ผู้หญิงมีรูปร่างผิวพรรณและหน้าตางดงาม มีภาษาพูดแตกต่างไปจากไทยภาคกลางเล็กน้อย มีตัวหนังสือเฉพาะของตนเอง การแต่งกายพื้นเมือง ผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่นยาวเกือบถึงตาตุ่ม ใส่เสื้อแขนกระบอก ห่มสไบ เกล้าผมทัดดอกไม้ ชายนิยมนุ่งกางเกงขายาว ใส่เสื้อคอกลมแขนสั้นสีครามเข้ม มีผ้าขาวม้าคาดเอว บ้านเรือนยกใต้ถุนสูง หน้าจั่วหลังคามีไม้ไขว้กันประดับด้วยลวดลาย เรียกว่ากาแล เครื่องดนตรีที่สำคัญได้แก่ เปี๊ยะ สะล้อ ซึง ปี่ แน กลอง นาฏศิลป์พื้นบ้านมีการฟ้อนเมือง ฟ้อนม่าน ฟ้อนเงี้ยว ประเพณีที่สำคัญคล้ายไทยภาคกลาง มีบางส่วนที่แตกต่างกันออกไปเช่นปอยหลวง เรียกขวัญ สืบชะตา เป็นต้น
  • ไทลื้อ,ไทเขิน,ไทใหญ่ เป็นกลุ่มชนที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง และทางตอนใต้ของจีน
    • ไทลื้อเป็นชนกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ตอนกลางและตอนบนตั้งแต่แขวงไชยบุรี ประเทศลาวขึ้นไป
    • ไทยเขิน มีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำขิ่นในรัฐฉาน จึงได้ชื่อว่าไทขีน ได้เข้ามาอยู่ในจังหวัดเชียงราย ในเขตอำเภอเมือง ฯ อำเภอแม่สาย และอำเภอเชียงแสน
    • ไทใหญ่ เรียกตนเองว่าไต ถูกคนเมืองเรียกว่า เงี้ยว และพม่าเรียกว่าฉาน ซึ่งแปลว่าคนภูเขา ผู้ชายรูปร่างสูงใหญ่กว่าคนไทยทั่วไป รูปร่างสูงโปร่งแข็งแรง มือเท้าเล็ก ผู้หญิงมีรูปร่างหน้าตาสวยงาม ผิวเนียนกว่าผู้หญิงพม่าเล็กน้อย หน้าตาเฉลียวฉลาด มีภาษาพูดแตกต่างไปจากคนเมือง และคนไทยภาคกลางเล็กน้อย มีตัวหนังสือของตนเอง การแต่งกายพื้นบ้าน ผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่นยาวเกือบถึงตาตุ่ม ใส่เสื้อแขนกระบอกเข้ารูป เกล้าผมมวยโพกศีรษะด้วยผ้า เจาะหูใส่ตุ้มหู ผู้ชายใส่เสื้อแบบจีน นุ่งกางเกงขายาว และเกล้าผมมวย สวมหมวกปีกกว้าง เจาะหูใส่ตุ้ม บ้านเรือนยกใต้ถุนสูง มีไม้แกะสลักประดับ เครื่องดนตรีสำคัญได้แก่ ฆ้อง กลอง ฉาบ นาฏศิลป์พื้นบ้านมีเต้นโต ฟ้อนนก ประเพณีสำคัญคล้ายคนไทยทั่วไป
เชียงรายมีประชากรหลายเชื้อชาติ ทั้งชาวไทยพื้นราบ ชาวไทยภูเขา และชาวจีนฮ่อที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่บนดอยสูง แต่ละชนชาติจะมีประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่มีเอกลักษณ์ เป็นเสน่ห์ห์อีกอย่างที่ทำให้เชียงรายได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ[4]

ชาวไทยภูเขา

ประกอบด้วย อีก้อ มูเซอ เย้า กะเหรี่ยง ลีซอ ม้ง

ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า

หมายถึง บุคคลหลายสัญชาติที่อพยพมาจากพม่าเข้าอยู่ในประเทศไทยก่อนวันที่ 9 มีนาคม 2519 การออกนอกเขตจังหวัดที่อยู่อาศัยต้องขออนุญาตจากปลัดกระทรวงมหาดไทย

ชาวลาวอพยพ

หมายถึง คนลาวที่อาศัยอยู่กับญาติพี่น้องตามแนวชายแดนของประเทศไทย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองของลาวในปี พ.ศ. 2517 ขณะนี้ทางการของไทยยังไม่อนุญาตให้เดินทางออกนอกเขตจังหวัดที่อยู่อาศัย

ชาวจีน

ชนกลุ่มน้อยซึ่งสืบเชื้อสายจีน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นอดีตทหารพรรคก๊กมินตั๋ง ได้มาตั้งรกรากในพื้นที่ ที่มีความโดดเด่นได้แก่ หมู่บ้านสันติคีรี
การศึกษา

สถาบันอุดมศึกษา

  • มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย
  • มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติเชียงราย
  • มหาวิทยาลัยพะเยา วิทยาเขตเชียงราย
  • มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้องเรียนวัดพระแก้ว-เชียงราย (วิทยาเขตนครเชียงราย)
  • มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ห้องเรียนวัดพระธาตุดอยเวา (โครงการก่อตั้ง "วิทยาเขตแม่สาย" ในอนาคต)
  • มหาวิทยาลัยเชียงราย (เอกชน)
  • มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศนครล้านนา-เชียงราย (โครงการในอนาคต)

สถาบันอาชีวศึกษา

  • วิทยาลัยเทคนิคเชียงราย
  • วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย
  • วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงราย
  • วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกเชียงราย
  • วิทยาลัยการอาชีพเชียงราย
  • วิทยาลัยการอาชีพเทิง
  • วิทยาลัยการอาชีพเวียงเชียงรุ้ง
  • โรงเรียนพณิชยการเชียงราย
  • โรงเรียนเทคโนโลยีกรุงธนเชียงราย
  • โรงเรียนวิรุณบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีเชียงราย
  • โรงเรียนโปลิเทคนิคเชียงราย
  • โรงเรียนอาชีวศึกษาแม่สาย
  • โรงเรียนชัยศิษย์บริหารธุรกิจและเทคโนโลยีเชียงของ

โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา

ชาวเชียงรายที่มีชื่อเสียง

  • เสม พริ้งพวงแก้ว-นายแพทย์ผู้บุกเบิกและสร้างความเจริญก้าวหน้าแก่ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
  • ถวัลย์ ดัชนี-จิตรกร ศิลปินแห่งชาติ
  • ศาสตราจารย์กิตติคุณ เดชา บุญค้ำ-ภูมิสถาปนิก ศิลปินแห่งชาติ
  • เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์-จิตรกรผู้ออกแบบและก่อสร้างวัดร่องขุ่น
  • วีรินทร์ทิรา นาทองบ่อจรัส-ผู้ประกาศข่าว พิธีกร
  • จูหลิง ปงกันมูล-คุณครูผู้เสียสละ
  • ปริม อินทวงศ์-อดีตนักวอลเลย์บอลทีมชาติไทย
  • ยงยุทธ ติยะไพรัช-อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและอดีตประธานรัฐสภา
  • มิตติ ติยะไพรัช-ประธานสโมสรฟุตบอลเชียงราย ยูไนเต็ด
  • พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี
  • วิสาระดี เตชะธีราวัฒน์-นักการเมือง
  • สายสวรรค์ ขยันยิ่ง-ผู้ประกาศข่าวช่อง 3
  • สามารถ แก้วมีชัย-รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
  • บัวบาน ผามั่ง-เป็นนักกรีฑาพุ่งแหลนโอลิมปิก
  • ปฏิภาณ หล่อเสถียร-เซน เดอะสตาร์ 6
  • คนึงพิมพ์ พรมกร-หนิม AF5
  • ก้องเกียรติ ทาวงศ์-ก้อง AF9
  • นิรมล เมธีสุวกุล-พิธีกร ผู้ผลิตรายการ
  • กรวิชญ์ สูงกิจบูลย์ -จูเนียร์ เดอะสตาร์ 7
  • อุเทน พรหมมินทร์-นักร้อง
  • วรรษพร วัฒนากุล-นักแสดง, รองอันดับ 1 มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส 2553 และ รองอันดับ 2 Miss Earth 2010.
  • วสันต์ นาทะสัน-นักฟุตบอล
  • โชคลาภ นิลแสง-นักฟุตบอล
  • กฤษฎี ประกอบของ-นักฟุตบอล

ภาษา

  • ภาษาพูด ใช้พูดจากันเรียกว่า อู้คำเมือง สำเนียงพูดของชาวเชียงรายไม่เหมือนกับจังหวัดอื่น ๆ ในภาคเหนือ คือไม่เนิบนาบ และไม่ห้วนจนเกินไป เป็นสำเนียงที่หล่อหลอมขึ้นมาใหม่ เนื่องจากเชียงรายเคยเป็นเมืองร้างผู้คนนานเกือบร้อยปี ได้มีการฟื้นฟูบ้านเมืองขึ้นมาใหม่เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2384 โดยได้เกณฑ์ราษฎรจากเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน และชนเผ่าไตใหญ่ ไตลื้อ ไตยอง และไตขืน (เขิน) ซึ่งอพยพจากเชียงตุง และสิบสองปันนา รวมทั้งชาวลาวจากประเทศลาว ได้เข้ามาอาศัยอยู่รวมกัน ดังนั้นสำเนียงพูดของชาวเชียงรายจึงมีความหลากหลายทางสำเนียงในพื้นที่ต่าง ๆ แต่ภาษาหลักของเชียงรายจะอยู่ที่อำเภอเมือง อำเภอเชียงแสน อำเภอแม่จัน อำเภอแม่สาย อำเภอเวียงชัย และอำเภอพาน
  • ภาษาเขียน เชียงรายก็เช่นเดียวกันกับจังหวัดทางภาคเหนืออื่น ๆ คือมีภาษาเขียนที่เรียกว่าอักขระล้านนา หรือตัวเมือง อักษรล้านนามีวิวัฒนาการมาจากอักษรพราหมีของอินเดีย มีการจัดระบบของหลักภาษาคล้ายกับภาษาบาลี อักษรล้านนามีรูปทรงกลมป้อมคล้ายอักษรพม่าและมอญ แต่หลักการทางภาษาไม่เหมือนกัน จากหลักฐานในศิลาจารึกวัดพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ แสดงให้เห็นว่ารูปทรงของอักษรล้านนามีรูปทรงเป็นตัวเหลี่ยมมาก่อน

 

 

2 กันยายน 2556 | จำนวนเข้าชม 10043 ครั้ง